วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Review:May 18 (2007) วันอนาถชาติเกาหลี


          จากเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นจริงของประเทศเกาหลีใต้ ภายหลังการเสียชีวิตของประธานาธิบดีนายพลปาร์กจุงฮี ซึ่งถูกลอบสังหารโดยนายคิมแจเกียว หัวหน้าสำนักข่าวกรองของเกาหลีใต้ ทำให้รัฐบาลในตอนนั้นเหมือนสูญเสียการควบคุมไปชั่วขณะ ส่งผลให้นายพลชุนดูฮวาน หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับของกองทัพบกกับนายพลโรห์แตวู แม่ทัพที่คุมกองกำลังด้านชายแดนเกาหลีเหนือ เข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ปีพ.ศ. 2522 สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนทั่วทั้งประเทศ อีกทั้งยังสั่งห้ามกิจกรรมทางการเมืองทุกอย่าง จับกุมและคุมขังผู้ที่ต่อต้าน สั่งปิดมหาวิทยาลัย เมื่อเกิดการกระแสต่อต้านลุกลามไปทั่วประเทศ นายพลชุนดูฮวานจึงส่งกองกำลังทหารพร้อมอาวุธครบมือออกไปประจำการตามเมืองต่างๆ โดยเน้นหนักไปที่โซลและกวางจูที่เป็นหัวเมืองสำคัญ ทำให้ประชาชนรวมไปถึงนักศึกษาของกวางจูที่ไม่พอใจระบบการปกครองแบบเผด็จการของนายพลชุนดูฮวาน จึงต่างลุกฮือปลุกระดมผู้คนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านสิทธิประชาธิปไตยของตัวเอง พวกเขาหยิบจับอาวุธเข้าห่ำหั่นกับทหารในกองทัพจนเกิดผู้เสียชีวิตจำนวนมาก นายพลชุนดูฮวานจึงสั่งถอยทัพกองกำลังทหารออกจากกวางจูเป็นการชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะครั้งแรกของประชาชน พวกเขายินดีปรีดาและเฉลิมฉลองกันอย่าสนุกสนาน โดยที่หารู้ไม่ว่าในอีกไม่กี่วันต่อมาพวกเขาทุกคนจะต้องตาย 18 พฤษภาคม ปีพ.ศ. 2523 May 18 รัฐบาลเกาหลีใต้ที่ในขณะนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของนายพลชุนดูฮวาน ได้สั่งกองกำลังทหารกว่าแสนนายเข้ากวาดล้างและระดมยิงผู้ชุมนุมในเมืองกวางจู พร้อมกับตั้งข้อหาให้พวกเขาเป็นกบฏต่อแผ่นดิน เป็นคอมมิวนิสต์และศัตรูของชาติ บีบบังคับให้ประชาชนยอมจำนนและวางอาวุธลง แต่ทว่าชาวเมืองกวางจูประกาศว่า"พวกเราไม่ใช่กบฏ"และจะต่อสู้จนถึงที่สุด การปราบจราจลสิ้นสุดลงในวันที่ 27 พฤษภาคม ปีพ.ศ. 2523 และประชาชนพ่ายแพ้ ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 18-27 พฤษภาคม ปีพ.ศ. 2523 รวมระยะเวลาการต่อสู้ทั้งสิ้น 9 วัน ได้มีผู้เสียชีวิตรวมแล้วถึง 204 คน บาดเจ็บอีกกว่า 2,393 คน และสูญหายไปอีกนับพัน ถือว่าเป็นโศกนาฏกรรมการเมืองครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของเกาหลีใต้ ที่ผู้คนทั้งประเทศจะต้องจดจำไปอีกนานแสนนาน


ระดับของเนื้อหา
         ที่ผมเขียนขึ้นมาด้านบนนั้นไม่ใช่เนื้อเรื่องภาพยนตร์ แต่ทว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของประเทศเกาหลีใต้ ภายหลังที่นายพลชุนดูฮวานกับนายพลโรห์แตวูเข้ายึดอำนาจรัฐบาล ก่อให้เกิดจราจลไปทั่วทั้งประเทศ แต่ทว่าส่วนใหญ่ก็ถูกอำนาจทางกำลังทหารปรามปรามไปจนหมดสิ้น เว้นแต่เพียงแห่งเดียวคือเมืองกวางจู ซึ่งตัวหนังได้ถ่ายทอดเรื่องราวพวกนี้ได้ออกมาแบบเป๊ะๆ ประหนึ่งว่าเราเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นเลย ยอดเยี่ยมมากจริงๆครับ
ระดับความสยอง
          ความโหดเหี้ยมของรัฐบาลทหารภายใต้การนำของนายพลชุนดูฮวานนั้นน่ากลัวมาก จะเรียกได้ว่าระบอบเผด็จการก็คงจะไม่ผิดนัก ประชาชนถูกลิดรอนสิทธิในด้านต่างๆมากมาย ถูกจำกัดเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก จนในที่สุดก็นำมาซึ่งกองกำลังต่อต้านที่นำมาโดยชาวเมืองกวางจูนับร้อยนับพัน ถึงแม้ทหารจะหันปากกระบอกปืนใส่พวกเขาแล้วระดมยิงอย่างไม่ยั้ง แต่สุดท้ายแล้วพวกเขาคือสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าประชาธิปไตยมีอยู่จริง และพวกเขาทุกคนเลือกที่จะรักในเสรีภาพถึงแม้จะต้องตายก็ตามที
 ระดับความน่าดู
          ทุกครั้งๆที่ประเทศไหนๆก็ตามบนโลกใบนี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอำนาจการปกครอง มักจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาเสมอ ไม่ใช่แค่แต่ในเกาหลีเท่านั้น ประเทศไทยเราเองก็เคยเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันขึ้นมาแล้ว และทุกครั้งจะนำมาซึ่งความสูญเสียที่ไม่สามารถประเมินค่าได้เลย ทั้งชีวิตของผู้คน ทรัพย์สิน รวมไปถึงความรู้สึกที่หดหู่ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงแม้พวกเราจะย้อนกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้อีกแล้ว แต่เรื่องราวเหล่านี้ได้ถูกปลูกฝังอยู่ในความทรงจำของทุกคนและเป็นเครื่องเตือนใจว่า"จะไม่ยอมให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก"

ลิ้งดูภาพยนตร์เรื่องนี้  May 18 (2007) วันอนาถชาติเกาหลี

May 18 (2007) วันอนาถชาติเกาหลี 1/2
May 18 (2007) วันอนาถชาติเกาหลี 2/2


เกร็ดความรู้จากภายนตร์ ภายหลังการเสียชีวิตของประธานาธิบดีนายพลปาร์กจุงฮี ซึ่งถูกลอบสังหารโดยนายคิมแจเกียว หัวหน้าสำนักข่าวกรองของเกาหลีใต้ ทำให้รัฐบาลในตอนนั้นเหมือนสูญเสียการควบคุมไปชั่วขณะ ส่งผลให้นายพลชุนดูฮวาน หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับของกองทัพบกกับนายพลโรห์แตวู แม่ทัพที่คุมกองกำลังด้านชายแดนเกาหลีเหนือ เข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ปีพ.ศ. 2522 ทำให้ประชาชนทั่วประเทศก่อความเคลื่อนไหวคัดค้าน จนนายพลชุนดูฮวานและนายพลโรห์แตวู ต้องสั่งการให้กองทัพใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างเด็ดขาด ยกเว้นอยู่ที่เดียว ที่นักศึกษาและประชาชนร่วมมือกันต้านทานกองทัพได้อย่างเข้มแข็งและกล้าหาญ นั่นคือเมืองกวางจู เมืองใหญ่อันดับที่ 5 ของประเทศเกาหลีใต้ โดยในวันที่18 พฤษภาคม ปีพ.ศ. 2523 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามประชาชน ทหารได้เคลื่อนกองทัพเข้ามาประชิดกลุ่มผู้ชุมนมที่รวมตัวกันที่ศาลากลางจังหวัด ทั้งสองกลุ่มได้เกิดการประจัญหน้ากัน ทหารระดมยิงด้วยกระสุนจริงและแก๊สน้ำตาเข้าใส่ชาวเมืองกวางจูอย่างโหดเหี้ยม ทางฝั่งประชาชนก็เริ่มเผารถเพื่อใช้เป็นที่กำบังและหยิบจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้ เวลาผ่านไปก็ยิ่งเกิดความสูญเสียเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นายพลชุนดูฮวานจึงสั่งให้กองกำลังทหารถอยทัพเป็นการชั่วคราว แล้วเริ่มป่าวประกาศไปทั่วประเทศว่าประชนชนเมืองกวางจูคือกบฏและศัตรูของชาติ การจราจลในกวางจูสงบลงชั่วคราว มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก รัฐบาลประกาศลอยแพชาวเมืองกวางจู ตัดเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหาร จนกระทั่งในคืนวันที่ 27 พฤษภาคม รัฐบาลประกาศว่าจะโจมตีชาวเมืองกวางจูอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ชาวบ้านกวางจูก็จะขอป้องกันตัวเองและเมืองกวางจูอย่างถึงที่สุด เป็นการรวมตัวกันอย่างยิ่งใหญ่ของชาวเมืองกวางจู ผู้ถูกกล่าวหาจากรัฐบาลและคนเกาหลีอีกค่อนประเทศว่าเป็น "ศัตรูของชาติ" แต่ด้วยกำลังทหารและสรรพาวุธที่เหนือกว่าชาวบ้านหลายเท่า ส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนมชาวกวางจูต้องพ่ายแพ้ไปในที่สุด เหตุการณ์สังหารหมู่ที่เมืองกวางจูเมื่อวันที่ 18 - 27 พฤษภาคม 2523 ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมการเมืองครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของเกาหลีใต้ นายพลชุนดูฮวาน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 2 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง ปีพ.ศ. 2531 ตามด้วยนายพลโรห์แตวู ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีก 2 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2536 จนกระทั่งถึงสมัยของประธานาธิบดีพลเรือนนายคิมยังซัม ที่ได้ประกาศนโยบายปฏิรูปการเมืองและปราบปรามการคอรัปชัน และนำคดียึดอำนาจการปกครองและคดีสังหารประชาชนที่กวางจู ขึ้นสู่ศาลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 ศาลอาญาประจำกรุงโซล มีคำตัดสินเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ลงโทษประหารชีวิตนายพลชุน ดูฮวาน จำเลยที่หนึ่งและจำคุกนายพลโรห์แตวู จำเลยที่สอง 22 ปี 6 เดือน และจำคุกนายพลอื่นๆอีก 13 คน เดือนสิงหาคม พ.ศ.2537 ชาวเมืองกวางจูผู้รอดชีวิตและครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ฯ ได้ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิอนุสรณ์สถานเหตุการณ์18 พฤษภาคม เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการรำลึกถึงเหตุการณ์และสืบสานเจตนารมณ์ในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ประชาธิปไตยและความสมานฉันท์ของประชาชนชาวกวางจู

ที่มา:  วิกิพีเดีย,pantip

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น